ปัจจุบันนี้มีทั้งหน่วยราชการที่ได้แก่ กรมวิชาการเกษตรและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และภาคเอกชนได้แก่บริษัทต่าง ๆ ได้ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา และมักจะมีคำถามเสมอว่าพันธุ์พืชที่เป็นเป้าหมายควรจะเป็นพันธุ์อะไร ซึ่งประเด็นที่จะใช้พิจารณาสำหรับตอบคำถามนี้ก็คือ ความแตกต่างของเปาหมายของการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
ภาครัฐดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์พืชโดยอาศัยภาษีอากรที่มาจากประชาชน ดังนั้นสิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ กำหนดชนิดของพันธุ์ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ก่อนเป็นลำดับแรก กล่าวคือ เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ในพืชผสมตัวเอง และเป็นพันธุ์ผสมเปิดหรือพันธุ์สังเคราะห์ในพืชผสมข้ามเนื่องจากพันธุ์พืชดังกล่าวสามารถปรับปรุงพันธุ์และผลินเมล็ดพันธุ์ได้ง่ายกว่า เมล็ดพันธุ์จึงมีราคาถูกและเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง เมื่อสามารถสร้างพันธุ์ชนิดดังกล่าวได้แล้ว เป้าหมายต่อไปก็คือการสร้างพันธุ์ลูกผสมชั่วแรกเพื่อยกระดับผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตในพืชบางชนิด เพื่อให้ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์พืช และเป็นการช่วยสนับสนุนภาคเอกชนทางอ้อม ในแง่ของการสร้างประชากรพื้นฐานและสายพันธุ์แท้ที่ดี ซึ่งภาคเอกชนสามารถนำไปใช้ประโยชนต่อได้ทันที
ส่วนภาคเอกชนนั้นลงทุนทำการปรับปรุงพันธุ์ก็เพื่อหวังผลกำไร ชนิดของพันธุ์พืชที่เป็นเป้าหมายอันดับแรกก็คือพันธุ์ลูกผสมชั่วแรก เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีมีความเป็นเจ้าของพันธุ์ เกษตรกรต้องซื้อตลอดไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ใช้เองได้ เนื่องจากเกิดการกระจายตัวของกรรมพันธุ์ (segregation) ทำให้ผลผลิตก็จะลดต่ำลงกว่าเดิมไปทุก ๆ ชั่วอายุ
http://lms.thaicyberu.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น